การวัดคุณภาพกล่องลูกฟูก

ความต้านทานแรงดันทะลุ (Bursting Strength)

เป็นความสามารถของกระดาษที่จะต้านทานแรงดันที่กระทําบนกระดาษ จนในที่สุดกระดาษจะถูกแรงดันให้ยืดตัวออกจนทะล ุดังนั้นความต้านทานแรงดันทะลุ จึงเป็นคุณภาพกล่องที่ต้องการสําหรับสินค้าที่ทําให้เกิดแรงดันจากภายในออก มาภายนอกกล่อง เป็นบริเวณพื้นที่เล็กๆ เช่น สินค้าที่มีลักษณะเป็นเม็ด เกล็ดก้อน เส้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นคุณภาพที่สัมพันธ์ต่อความสามารถในการรองรับน้ำหนักบรรจุ สินค้า ที่ถ่วงลงบนผนังด้านล่างของกล่อง เมื่อมีการเคลื่อนย้ายโดยใช้คน

ความต้านทานแรงกดวงแหวน (Ring Crush หรือ Ring Crush Test)

ความสามารถของกระดาษที่จะต้านทานแรงกดในระนาบเดียวกับกระดาษ ซึ่งกดจนกระดาษหักยุบตัวลง ความต้านทานแรงกดวงแหวนของกระดาษในแนวขวางเครื่องจักร (Ring Crush CD) เป็นคุณภาพกระดาษที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการต้านทานแรงกด กล่อง (Box Compression Strength/Test) ซึ่งเป็นคุณภาพที่จําเป็น ต่อการกองเก็บเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าบรรจุกล่องลูกฟูก สินค้าที่ทนต่อแรงกด ไม่ได้หรือทนแรงกดได้น้อย จําเป็นต้องใช้กล่องที่ทนต่อแรงกดได้มากตามสภาพการใช้งาน กล่องที่ทนต่อแรงกดได้มากก็ต้องประกอบด้วย กระดาษที่มีความต้านทานแรงกดวงแหวนที่สูงในระดับที่ต้องการเช่นเดียวกัน

ความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูก (Concora Crush Test) ของกระดาษ

เป็นความสามารถของกระดาษที่จะต้านทานแรงกดบนลอนลูกฟูกจนลอนลูกฟูกยุบตัวจน แบนราบ คุณภาพดังกล่าวนี้ มีความสัมพันธ์โดยตรง กับความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูกของแผ่นลูกฟูก (Flat Crush) ดังนั้นถ้าต้องการกล่องที่ทนแรงกดลอนลูกฟูกได้มาก ต้องเลือกกระดาษที่มีความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูกได้มากด้วยเช่นเดียวกัน

รายละเอียดของคุณภาพที่สําคัญของกระดาษทําผิวกล่องและกระดาษทําลอนลูกฟูก ทุกเกรดและน้ำหนักมาตราฐาน
สรุปอยู่ในตารางด้านล่างนี้

ชนิดของกระดาษ เกรด น้ำหนักมาตราฐาน (gsm) Min Bursting Strength (kg/cm2) Min Ring Crush C.D.
(kg/6 in.) (kg/cm)
Kraft Linerboard KS 170 3.9 19.37 1.27
KA 125 3.5 13.26 0.87
150 4.2 18.35 1.20
185 5.1 22.43 1.47
230 6.4 28.55 1.87
KI 125 2.6 10.71 0.70
150 3.1 14.28 0.94
185 3.8 17.85 1.17

ชนิดของกระดาษ เกรด น้ำหนักมาตราฐาน (gsm) Min Bursting Strength (kg/cm2) Min Ring Crush C.D.
(kg/6 in.) (kg/cm)
Corrugating Medium CA 105 16.31 8.67 0.57
125 19.37 12.24 0.80

หมายเหตุข้อมูลตามตาราง อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในการทําเยื่อกระดาษ และคุณภาพกระดาษของผู้ผลิตแต่ละราย โดยข้อมูลที่นําแสดงนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้เห็นว่า กระดาษเกรด KA นั้นมีความเหนียวมากที่สุด ตามด้วย KS และ KI โดยความเหนียวของกระดาษ มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักมาตราฐานของกระดาษด้วย